โรคลูปัส(Lupus)เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง(Autoimmune disease)ที่เกิดขึ้นอย่างปุบปับและมันยังส่งผลกระทบต่อทุกคนได้ทุกเพศทุกวัย ตามสถิติจากมูลนิธิโรคลูปัสของอเมริกา 9 ใน 10 ของผู้หญิงกำลังต่อสู้กับโรคนี้อยู่ ผู้ป่วยวัย 29 ปีเล่าถึงประสบการณ์ของเธอเกี่ยวกับโรคลูปัสว่า ช่วงนั้นเธอต้องเข้าพบแพทย์เกือบทุกวันเนื่องจากโรคของมันมีอาการที่รุนแรงแตกต่างกันออกไปในแต่ละวันและมันทำให้ชีวิตของเธอต้องเปลี่ยนไปในทันที เริ่มแรกแพทย์ได้วินิจฉัยว่าฉันเป็นโรคไขข้ออักเสบซึ่งตอนนั้นฉันมีอายุเพียง 17 เท่านั้น!
โรคลูปัสสามารถส่งผลต่อชีวิตของคุณอย่างไร ตามที่ Sarah Stothers กรมการศึกษาสุขภาพพยาบาลแห่งชาติที่มูลนิธิโรคลูปัสของอเมริกา ได้กล่าวว่า “อาการเริ่มแรกของมันจะสร้างความเมื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง” และมันยังแสดงอาการดังต่อไปนี้ด้วยเช่นกัน: -เลือดมีการแข็งตัวผิดปกติ -นิ้วมือจะมีสีขาวซีดเมื่ออากาศเย็น -ปากหรือจมูกเป็นแผล -มีผื่นรูปผีเสื้อทั่วแก้มและจมูก -มีอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเป็นอย่างมาก -มีอาการปวดหัว -ข้อต่อมีอาการเจ็บปวดหรือบวม -มีไข้ -โรคโลหิตจาง -บวมในเท้า ขา มือ และบริเวณรอบดวงตา -เจ็บที่หน้าอกเมื่อหายใจลึก -ไวต่อแสงแดด -ผมร่วง
“บางคนมองว่าเป็นเรื่องปกติของอาการ แต่หารู้ไม่ว่าแท้จริงแล้วมันน่ากลัวมาก โรคนี้จะแพร่กระจายอยู่ภายในร่างกายโดยที่คุณไม่สามารถเห็นได้จากภายนอก และยิ่งกว่านั้นคุณยังดูปกติสมบรูณ์ดีโดยที่ไม่รู้เลยว่าคุณกำลังเป็นโรคนี้แล้ว” อาการของโรคลูปัสมักจะเกี่ยวข้องกับปอด กระดูก หัวใจ หรือกล้ามเนื้อ เช่น โรคไขข้ออักเสบ, โรคเบาหวาน, โรคเลือด โรคไฟโบรไมอัลเจีย(fibromyalgia)และความผิดปกติของเลือด และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมโรคลูปัสถึงมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนและการแพ้ภูมิตัวเอง Dixon กล่าวว่า “โรคลูปัสไม่ได้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวของฉัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัวของฉันคือโรคสะเก็ดเงินซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคของภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง”
เนื่องจากว่าผู้ป่วยโรคลูปัสมีจำนวนมากขึ้นและผู้ป่วยเหล่านั้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง และผู้ป่วย 2-3 คนมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคชนิดนี้ ซึ่งต้องคอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดและหลีกเลี่ยงไม่ได้! โรคแพ้ภูมิตัวเองที่พบมากที่สุด คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1โรคลำไส้อักเสบ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต(Hashimoto)โรคแอดดิสัน(Addison’s disease) โรคด่างขาว(Vitiligo)โรคข้ออักเสบรีแอคตีฟ(Reactive arthritis)โรคไขข้ออักเสบ โรคเซลิแอค(Celiac Disease)โรคสะเก็ดเงิน โรคคอพอกตาโปน หรือ โรคเกรฟส์(Graves’ disease)โรคปากแห้งตาแห้ง(Sjogren’s Syndrome)และโรคหนังแข็ง(scleroderma)
สาเหตุและการรักษา“เรารู้ว่าองค์ประกอบของโรคลูปัสมาจากพันธุกรรม กล่าวว่า การถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาของโรคลูปัส สภาพแวดล้อมและฮอร์โมนก็มีบทบาทอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอสโตรเจน(Estrogen)เนื่องจากมันมีอยู่มากในหมู่ผู้หญิง”“มีการวินิจฉัยว่าในระหว่างวัย 15 – 44 ปีเป็นช่วงที่ผู้หญิงมีความสมบรูณ์มากที่สุดและผู้หญิงหลายคนได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมน แต่ถึงกระนั้นก็ยังสรุปไม่ได้อย่างชัดเจนทั้งหมด”
การช่วยเหลือ“ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคลูปัสจะมีชีวิตที่สมบรูณ์แข็งแรงดีแต่ต้องคอยสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา และควรตระหนักว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะรักษาโรคนี้และคุณต้องมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตบางอย่างให้อยู่บนโลกที่แสนจะวุ่นวายใบนี้ต่อไปได้ เขากล่าวว่า เขาอยากเรียกร้องให้เพิ่มอาชีพให้กับผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคลูปัส เพราะผู้ป่วยไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอาการของมันจะมีความรุนแรงขึ้นเมื่อใด และสิ่งนี้คือสิ่งที่ยากมากสำหรับการรักษาโรคลูปัส” เขากล่าว