พลิกตำราเลี้ยงกบนาขายลูกอ๊อดรายได้งามต้นทำต่ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่จังหวัดนครพนมในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–เดือนพฤษภาคมของทุกปีถึงแม้หลายพื้นที่จะประสบปัญหาจากภาวะภัยแล้ง ขาดน้ำในการทำการเกษตรสร้างรายได้เสริมจนเกษตรกรบางรายต้องเดินทางไปขายแรงงานต่างถิ่นเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวรอจนกว่าจะถึงหน้าฝนและฤดูกาลทำนาปีมาถึงจึงจะกลับมาบ้านเพื่อทำนาตามปกติเช่นเดียวกับชาวบ้านในพื้นที่บ้านหนองแต้และบ้านนาขามต.นาขามอ.เรณูนครจ.นครพนมส่วนใหญ่จะมีอาชีพหลักคือการทำนาปีพอถึงหน้าแล้งจะประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตรหน้าแล้งไม่สามารถทำการเกษตรปลูกพืชผักได้โดยเฉพาะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนภัยแล้งคุกคามหนักส่งผลกระทบหนักกว่าทุกปีไม่สามารถทำนาปรังหรือปลูกพืชหน้าแล้งได้

แต่ชาวบ้านหนองแต้และชาวบ้านนาขามต.นาขามอ.เรณูนครจ.นครพนมได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสนำอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้านทำนากบสร้างรายได้ช่วงหน้าแล้งด้วยการปรับพื้นที่นานำตาข่ายเขียวมาขึงเป็นคอกเลี้ยงกบขายลูกอ็อดเนื่องจากมองว่าลูกอ็อดเป็นที่ต้องการของตลาดสูงและหายากโดยได้เริ่มจากการเลี้ยงตามภูมิปัญญาชาวบ้านลองผิดลองถูกมานานหลายปีจนกระทั่งเกิดความชำนาญกลายเป็นอาชีพที่มีผลผลิตสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดีจนทำให้หมู่บ้านเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าหมู่บ้านเลี้ยงกบซึ่งถือได้ว่าเป็นแห่งเดียวของนครพนมซึ่งในแต่ละปีจะมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเดินทางมารับซื้อลูกอ็อดช่วงหน้าแล้งไปส่งขายออกสู่ตลาดทั่วภาคอีสานปีละหลาย10ตันสร้างเงินหมุนเวียนสะพัดปีละกว่า10ล้านบาททีเดียว

โดยอาชีพทำนากบจะเริ่มขึ้นในช่วงหน้าแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จชาวบ้านจะใช้พื้นที่นาว่างนำตาข่ายเขียวมาขึงเป็นบ่อเลี้ยงกบจากนั้นจะนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบที่เลี้ยงไว้ไปปล่อยให้กบออกไข่เพราะพันธุ์เป็นลูกอ็อดแล้วใช้เวลาเลี้ยงประมาณ20วันเพื่อขายลูกอ็อดในราคาส่งกิโลกรัมละ150–200บาทโดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าทั่วภาคอีสานมารับซื้อไปขายตามตลาดมีราคาขายตามท้องตลาดประมาณ250-300บาทให้ลูกค้าที่นิยมรับประทานซื้อไปประกอบอาหารแกงหมกอ่อมตามความชอบซึ่งในช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายนจะเป็นช่วงสุดท้ายที่เกษตรกรจะเร่งขายก่อนใช้พื้นที่นาทำนาปีตามปกติที่สำคัญถือเป็นอาชีพที่ใช้ต้นทุนต่ำและดูแลง่ายใช้น้ำน้อยในการเลี้ยงรวมถึงไม่มีคู่แข่งทางการตลาดทำให้สามารถส่งขายได้ไม่อั้นมีตลาดรองรับตลอด

เช่นเดียวกับนายสมชัยวงษ์สุขอายุ56ปีเกษตรกรชาวบ้านหนองแต้ต.นาขามอ.เรณูนครจ.นครพนมซึ่งถือเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่นำร่องบุกเบิกทำอาชีพนากบมานานกว่า10ปีจากการลองผิดลองถูกด้วยการเลี้ยงแบบภูมิปัญญาชาวบ้านจนประสบความสำเร็จสามารถมีผลผลิตลูกกบขายส่งทั่วภาคอีสานตลอดปีแบบครบวงจร

โดยได้เล่าถึงที่มาของอาชีพทำนาเลี้ยงกบว่าเดิมชาวบ้านหนองแต่ทำไร่ทำนาพอหมดฤดูนาปีถึงหน้าแล้งส่วนใหญ่จะไปทำงานรับจ้างต่างจังหวัดหารายได้เสริมเพราะไม่มีงานทำทำการเกษตรไม่ได้ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอทำให้ตนเกิดความคิดหาวิธีเลี้ยงกบขายเพราะมองว่ากบน่าจะหายากในช่วงหน้าแล้งบวกกับลูกอ็อดเป็นที่ต้องการของตลาดสูงหาตามธรรมชาติยากจึงนำมาทดลองเลี้ยงแบบลองผิดลองถูกด้วยการนำพ่อพันธ์แม่พันธ์มาขยายใช้เวลา2-3ปีจึงประสบความสำเร็จสามารถขายได้ทั้งลูกอ็อดรวมถึงกบที่โตแล้วและมีตลาดรองรับตลอดจึงแนะนำส่งเสริมชาวบ้านเลี้ยงมาต่อเนื่องทำให้ปัจจุบันในหมู่บ้านมีคนยึดอาชีพนากบเกือบทั้งหมู่บ้านกว่า100ครอบครัว

สำหรับการเลี้ยงพอถึงหน้าแล้งจะปรับที่นาประมาณ1ไร่ใช้ตาข่ายเขียวขึงรอบที่นาเพื่อปรับเป็นบ่อเลี้ยงกบขายลูกอ็อดลงทุนต่ำก่อนนำพ่อพันธ์แม่พันธ์ที่คัดไว้มาพักในบ่อซึ่งแต่ละปีจะใช้พ่อพันธ์แม่พันธ์อายุประมาณ1ปีประมาณ2,000ตัวหลังบ่อพร้อมจะปล่อยน้ำเข้าที่นาให้ได้ระดับประมาณ10เซนติเมตรและนำพ่อพันธุ์แม่พันธ์กบประมาณบ่อละ400-500คู่ให้มีการผสมพันธุ์ออกไข่ในระยะเวลาประมาณ1คืนหรือประมาณ24ชั่วโมงตามธรรมชาติและนำพ่อพันธ์แม่พันธุ์ออกไปพักไว้ในบ่อเลี้ยงจากนั้นประมาณ1วันไข่กบจะฟักตัวออกเป็นลูกอ็อดและปล่อยตามธรรมชาติประมาณ2วันสามารถให้หัวอาหารปลาดุกได้เลยใช้ระยะเวลาเพียง20–30วันลูกอ็อดโตได้ขนาดก็สามารถเริ่มตักขายได้แล้วพร้อมนำมาบรรจุถุงพลาสติกประมาณถุงละ1กิโลกรัมและอัดออกซิเจนเพื่อให้สามารถอยู่ได้นานขนส่งไปขายต่างจังหวัดได้

ส่วนการขายลูกอ็อดจะขายต้นฤดูประมาณกิโลกรัมละ200-250บาทกลางฤดูจะลดลงประมาณกิโลกรัมละ150-200บาทนอกจากนี้ยังได้แยกลูกอ็อดบางส่วนไปเลี้ยงในบ่อพักเพื่อขายเป็นกบตัวโตตามขนาดมีตั้งแต่กิโลกรัมละ150–200บาทยิ่งช่วงหน้าหนาวกบธรรมชาติขาดตลาดยิ่งได้ราคาดีประมาณกิโลกรัมละ250บาทโดยจะเลี้ยงขายแบบครบวงจรตลอดปีตั้งแต่ลูกอ็อดไปถึงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์รวมถึงกบรุ่นกลางเพื่อส่งขายตามท้องตลาดทั่วไป

ซึ่งในการดูแลถือว่าดูแลง่ายต้นทุนต่ำเพียงหมั่นตรวจสอบดูแลให้อาคารตามเวลาก็สามารถทำเงินได้แล้วถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีใช้น้ำน้อยมีกำไรสูงมากกว่า50เปอร์เซ็นต์สามารถทำเงินได้เดือนละเป็นแสนจนถึงหลักล้านขึ้นอยู่กับปริมาณเลี้ยงทุกวันในหมู่บ้านจะมีลูกอ็อดส่งขายไปตามตลาดทั่วภาคอีสานวันละไม่ต่ำกว่า4-5ตันเป็นเงินไม่ต่ำกว่าวันละแสนบาททุกปีทำให้หมู่บ้านแห่งนี้มีเงินหมุนเวียนสะพัดปีละหลาย10ล้านบาทถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ในช่วงหน้าแล้งเป็นอย่างดีมีตลาดรับไม่อั้นเนื่องจากเป็นที่นิยมของชาวอีสานสามารถส่งขายไปปรุงเป็นเมนูเด็ดของแซบอีสานตามความชอบแกงอ่อมนึ่งหมกและผัดเผ็ดแต่หากินยากส่วนใหญ่มีขายเฉพาะหน้าแล้งพอถึงหน้าฝนเกษตรกรจะหันไปทำนาปีปกติแต่มีบางรายเลี้ยงขายครบวงจรตลอดปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *