ผืนนาสีเขียวขจีที่มองไกลสุดลูกตาแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อบต.หนองชิ่มอ.แหลมสิงห์จ.จันทบุรีบนเนื้อที่กว่า1,700ไร่ที่ได้รับความร่วมมือจากอบต.หนองชิ่มและชาวบ้านร่วมกันปลูกนาข้าวผืนใหญ่ด้วยเกษตรอินทรีย์ฟื้นฟูการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์และวิถีชีวิตแบบพอเพียงที่กำลังจะสูญหายไปให้กลับมามั่งคั่งดังเดิมภายใต้แนวคิดของนายธนกรณ์ชาวแกลงนายกอบต.หนองชิ่มที่นำชาวบ้านร่วมปลูกข้าววิถีพอเพียงตั้งแต่ปี2556เป็นต้นมา
จนทำให้พื้นที่อบต.หนองชิ่มกลับมาเขียวขจีอีกครั้งสร้างรายได้หมุนเวียนแก่ชุมชนตามปณิธานของพ่อหลวงซึ่งถือว่าการทำนาเกษตรอินทรีย์ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากเพราะยอดการผลิตไม่แตกต่างจากการทำเกษตรเคมีที่สำคัญมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเป็นอย่างมาก นาข้าวอินทรีย์แท้…ความภูมิใจของชาวหนองชิ่ม นายกฯธนกรณ์กล่าวว่า“พื้นที่ดั้งเดิมของต.หนองชิ่มเมื่อก่อนทำนาข้าวต่อมามีการปรับเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นนาข้าวน้ำกร่อยได้ถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้งเนื่องจากในขณะนั้นอาชีพเลี้ยงกุ้งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูงและใช้ระยะเวลารวดเร็วกว่าอาชีพทำนาข้าวและหลังจากหันมาเลี้ยงกุ้งกันเป็นจำนวนมากก็ทำให้สภาพพื้นที่เสื่อมโทรมประกอบกับขาดระบบการจัดการที่ถูกต้องทำให้การประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรทีนี้ในส่วนของอบต.เองเราก็เล็งเห็นว่าเราน่าจะรื้อฟื้นอาชีพดั้งเดิมก็คืออาชีพทำนาข้าวโดยทำตามแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีอบต.เป็นองค์กรนำองค์กรนำนี่หมายถึงว่าเราทำผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่ที่ตัวเรานะแต่จะตกอยู่กับคนในชุมชนตกอยู่กับชมรมผู้สูงอายุตกอยู่กับชมรมผู้ทำนาข้าวตกอยู่กับกลุ่มสตรีเราทำนี่เพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ตัวเขา
ธนกรณ์ชาวแกลงนายกอบต.หนองชิ่ม ในส่วนของกลุ่มนาข้าวเนี่ยนะครับเขายังทำนาเกษตรเคมีกันอยู่เกษตรเคมีเมื่อเทียบกันแล้วเขาทำนาได้ปีหนึ่ง600กิโลต่อไร่แต่เราทำเกษตรอินทรีย์(ข้าวกล้อง)ในส่วนของอบต.ซึ่งผลที่ได้ไม่ได้แตกต่างกันเลยอบต.เรายังทำแพ็กเกจเองเราสีได้600กิโลต่อตันข้าวเปลือกขายกิโลละ50บาทฉะนั้นเราขายข้าวได้ตันละสามหมื่นบาททั้งๆที่ข้าวของกลุ่มนาข้าวกลุ่มเกษตรกรขายได้ตันละเก้าพันเมื่อปีที่แล้วนั่นทำให้เราเห็นความแตกต่างเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์
ของเราเป็นนาปีไม่ใช่นาปรังนาปีเราก็ต้องรอฤดูฝนจริงๆและพื้นที่ทำนาของบ้านเราไม่เยอะมากแค่พันกว่าไร่เราก็เริ่มจากประชุมกลุ่มชาวนาเพื่อเข้าร่วมการผลิตข้าวแบบอินทรีย์จากนั้นเตรียมพื้นที่ทำแปลงนาข้าวอินทรีย์สาธิตณหมู่3ต.หนองชิ่มโดยมีพิธีก่อนหว่านข้าวเปลือกพิธีบายศรีข้าวโดยมีชาวบ้านต่างร่วมแรงร่วมใจกันมาช่วยหว่านข้าวใส่ปุ๋ยบำรุงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและก็มาถึงวันที่รอคอยข้าวออกรวงเหลืองทองอร่ามทุ่งชาวบ้านก็ต่างมาร่วมแรงกันอีกในการเกี่ยวข้าวจนถึงการนวดข้าวจากเริ่มหว่านจนถึงวันนี้ได้ผลิตภัณฑ์ของเราคือข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษให้พวกเราได้กินกัน
เราสนับสนุนการทำการเกษตรปลอดสารพิษลดการใช้สารเคมีในการผลิตและยังอนุรักษ์พันธุ์ข้าวล้นยุ้งที่เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของต.หนองชิ่มที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่สำคัญทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตเดิมๆของบรรพบุรุษได้เข้ามาเรียนรู้การทำนาดำและนาหว่านว่าแตกต่างกันอย่างไรการรวมกลุ่มกันลงแขกดำนาปลูกข้าวเขาทำกันอย่างไรผลผลิตต่อไร่จะแตกต่างจากนาหว่านอย่างไรบ้าง” แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่หลายคนนึกภาพตามแล้วมองว่าแนวคิดนี้ใช้เวลายาวนานกว่าจะได้เห็นเม็ดเงินจริงคงจะต่างจากการทำนากุ้งอย่างในอดีตแต่ถ้าจะให้กลับไปเสี่ยงเหมือนอย่างในอดีตเงินลงทุนคงยังเอื้อมไม่ถึงความยั่งยืนของนาข้าวเกษตรอินทรีย์จะเป็นเครื่องพิสูจน์…เวลาอาจจะไม่ใช่ปัญหาหลักแต่ถือเอาการทำงานจริงและเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่าที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนได้ ลองมาสัมผัสกับบรรยากาศแบบนี้ที่นี่แล้วคุณจะอยากหยุดเวลาไว้ณ“ไอดินกลิ่นทุ่ง”
ร้านไอดินกลิ่นทุ่งต.หนองชิ่มอ.แหลมสิงห์จ.จันทบุรีร้านเปิด:ศุกร์13.00-18.30น.เสาร์-อาทิตย์10.00-18.30น.ที่จอดรถ :จอดข้างทางเหมาะสำหรับมาเป็นกลุ่มเป็นครอบครัวเมนูเด็ด:ไอติมกะทิ,ชาเย็น,ชาเขียวเย็นกิจกรรมหลักๆคือถ่ายภาพบรรยากาศวิวธรรมชาตินั่งมองท้องฟ้าสูดอากาศอันแสนสดชื่นส่วนสินค้าโอทอปก็น่าเลือกซื้อและนำไปเป็นของฝาก ภายหลังอบต.หนองชิ่มนำชาวบ้านร่วมปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ฟื้นฟูพื้นที่จนประสบความสำเร็จและจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์มีผู้สนใจเข้าดูงานเป็นจำนวนมากจนเกิดแนวคิดสร้างการท่องเที่ยววิถีชุมชนด้วยการเปิดร้าน“ไอดินกลิ่นทุ่ง”จำหน่ายไอศกรีมพื้นบ้านและกาแฟโบราณแก่นักท่องเที่ยวได้สูดอากาศอันบริสุทธิ์ของทุ่งนาและธรรมชาติของวิถีชีวิตอย่างแท้จริงรวมทั้งสร้างรายได้เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ชุมชนพร้อมนำสินค้าโอทอปในชุมชนทั้งเหละปลากรอบข้าวตูข้าวสารพันธุ์หอมมะลิมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวหลังจากเปิดให้บริการได้ไม่นาน(ร้านเปิดเมื่อ30ก.ค.2558)ได้รับความสนใจจากคนในจ.จันทบุรีและคนนอกพื้นที่ได้มาแวะพักแวะกินแวะสูดกลิ่นอายของท้องทุ่งเขียวขจีกันอย่างไม่ขาดสายภายใต้กระท่อมไม้ไผ่และฉากวิวให้เราได้แชะเก็บบรรยากาศเป็นที่ระลึก
ช่วงที่เราดำนานะครับก็จะมีหลายๆท่านไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่จะไปพักโฮมสเตย์ด้านล่าง(พื้นที่หมู่8910จะมีโฮมสเตย์ด้วย)และถนนเส้นนี้เป็นเส้นท่องเที่ยวหรือถนนเลียบชายฝั่งเส้นถนนเฉลิมบูรพาชลทิต(ถนนเลียบชายหาดที่สวยที่สุดและได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยงามที่สุดในภาคตะวันออกถนนเส้นนี้เป็น1ใน10สถานที่ท่องเที่ยวของDreamDestinationsที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแนะนำให้มาเที่ยว)นักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านมาก็เกิดความสนใจก็แวะดูและยังมาช่วยกันทำนาบ้าง(ยิ้ม)เราก็เกิดแนวคิดว่าน่าจะสร้างตรงนี้โดยวัตถุประสงค์แรกเลยนะครับสร้างเพื่อเป็นสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวมาพักมาพักแล้วก็มาดูวิถีชุมชนเราพอทำไปทำมาเราก็มีวัตถุประสงค์เพิ่มก็คือให้เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนตอนนี้เรามีในเรื่องของข้าว(ข้าวกล้อง)ที่เราผลิตเองมีผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุมีผลิตภัณฑ์ของกลุ่มโอทอปเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนวัตถุประสงค์ที่สามให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพราะตอนนี้พื้นที่ที่จะทำนาข้าวมันน้อยลงทุกทีๆแล้ว”นายกฯธนกรณ์กล่าว
ร้านไอดินกลิ่นทุ่ง(ไอติม-กาแฟ)ที่นี่นอกจากจะเป็นจุดพักผ่อนจุดนัดพบปะพูดคุยกันของคนในตำบลและเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวยังเป็นที่จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าวอินทรีย์ผักปลอดสารพิษและบริเวณพื้นที่ยังมีบ้านควายที่เกิดจากความร่วมมือของคนในตำบลนำควายที่ไถ่ชีวิตมาเลี้ยงไว้ณที่แห่งนี้ ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างก็ชื่นชอบกับบรรยากาศของทุ่งนาของร้านไอดินกลิ่นทุ่งเพราะถือเป็นการหลีกหนีจากความวุ่นวายในเมืองออกมารับลมชมธรรมชาติพร้อมนั่งชิมไอติม-กาแฟแสนอร่อยในวันหยุดสุดสัปดาห์
ไอติมรสเลิศด้วยความเข้มข้นของรสกะทิผสมกับกลิ่นอายธรรมชาติที่ลงตัวไอติมกะทิสามารถเพิ่มtoppingได้ในราคา20บาท นี่ก็มาเป็นครั้งที่สองแล้วเหมือนกันชอบที่ทางอบต.เขาทำชอบแนวคิดเพราะว่าอนุรักษ์ธรรมชาติให้เห็นธรรมชาติให้คนกรุงเทพฯหรือคนต่างจังหวัดที่เขาไม่มีแบบนี้ได้เห็นบ้างอยากให้อนุรักษ์อย่างนี้ไปเรื่อยๆคนจะได้มาสูดบรรยากาศอย่างนี้” บรรยากาศโอเคค่ะร่มรื่นเย็นสบายแล้วไอติมก็อร่อยค่ะ(ยิ้ม)” ชอบค่ะ(ยิ้ม)ไว้เดี๋ยวจะชวนเพื่อนๆมาเยอะๆเลยค่ะเพราะบรรยากาศดีมากแถวบ้านเราไม่ค่อยมีบรรยากาศแบบนี้รู้สึกดีค่ะมานั่งแล้วอบอุ่น”
ร้านไอดินกลิ่นทุ่งของอบต.หนองชิ่มอ.แหลมสิงห์จ.จันทบุรีถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแนวใหม่ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นเพราะทำให้นักท่องเที่ยวได้ย้อนวันวานสู่ท้องทุ่งในวันสุดสัปดาห์ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนพอเพียงซึ่งผู้ที่ชื่นชอบสามารถร่วมท่องเที่ยวและชิมกาแฟแสนอร่อยได้ในวันศุกร์เสาร์อาทิตย์หรือติดตามได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ“หนองชิ่มบ้านฉัน”…ตามรอย“พ่อ”อย่างพอเพียงคณะผู้บริหารโดยท่านนายกฯธนกรณ์ชาวแกลงและพนักงานอบต.หนองชิ่มมีเจตนาเดียวกันคือไม่ได้หวังว่าจะมุ่งเน้นผลกำไรหรือชื่อเสียงเพียงแต่มุ่งเน้นการบริการและให้ทุกท่านได้รับความสุขความผ่อนคลายกับบริการที่ดีที่สุดเหมือนครอบครัวเดียวกันเพราะที่นี่คือ“หนองชิ่มบ้านฉัน”และจะเป็นหนองชิ่มของทุกคนตลอดไป…